วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกครั้งที่ 7
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ 

💦รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา💦

     สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่ และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

ข่าวสารประจำสัปดาห์
➤ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครอง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่โรงเรียน และแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมพัฒนาไปทางเดียวกัน

 จดหมายข่าวและกิจกรรม
➤ เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสาร และกิจกรรมที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์ หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 

ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
➤ จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน และผลงานแห่งความภาคภูมิใจ

การสนทนา
➤ การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึง และตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น เพื่อให้ครู และผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

ห้องสมุดผู้ปกครอง
➤ เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ การให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้มีความรู้ความเข้าใจของการดำเนินงานของสถานศึกษาในการจัดการศึกษา

ป้ายนิเทศ
➤  ป้ายนิเทศจัดเพื่อให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน  ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ หรือข่าวสารบริการต่างๆ ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก และสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น

นิทรรศการ
➤  เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวาง ด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิด เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ 

มุมผู้ปกครอง
➤ เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู 

การประชุม
➤ เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย 

จุลสาร
➤ เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด 

คู่มือผู้ปกครอง
➤ เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือ ประกอบด้วย ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ 


ระบบอินเทอร์เน็ต
➤ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป


คำถามท้ายบท

1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ในแต่ละรูปมีทั้งข้อดีข้อเสียต่างกัน ครูควรดูถึงบริบทของผู้ปกครองด้วยในการใช้รูปแบบต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่มีผลการตอบรับดีแค่ในในการใช้รูปแบบนี้ เช่นรูปแบบข่าวสารประจำสัปดาห์ ข้อดีพ่อแม่ได้ร่วมทำกิจกรรมในข่าวสารนั้นและรับรู้ข่าวสารด้วย ข้อเสียพ่อแม่บ้างคนอาจไม่มีเวลา อาจทำให้พลาดการรับรู้ในข่าวสารตรงนี้ได้

2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ 1.ห้องสมุดผู้ปกครอง เป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
2.ป้ายนิเทศ เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ
3.นิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง เช่น นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
4.มุมผู้ปกครอง เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครอง
5.การประชุม เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด เช่น เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
6.จุลสาร เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆด้าน ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ
7.คู่มือผู้ปกครอง เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป 
8.ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  

3.นักศึกษามีวิธีการ หรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการ หรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ เข้าไปพูดคุย บอกถึงผลประโยชน์แก่ตัวเด็กและผู้ปกครองเองที่จะได้รับ จะได้ร่วมกันพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพและมีความพร้อมในด้านต่างๆร่วมกัน 

4.การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้รับความรู้ และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่างๆที่ถูกต้อง และแก้ไขปัญหาได้ถูกวิธี เด็กจะได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีความพร้อมทั้ง4ด้าน 

5.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ รูปแบบการสนทนา เป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

การประเมิน
💙ประเมินตนเอง : เข้าเรียนสาย แต่งกายเรียบร้อย
💛ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
💗ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ
บันทึกครั้งที่ 6
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ

🔮โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย🔮

โครงการแม่สอนลูก
➤ ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
➤ จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยมารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
➤ ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน อาศสัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านแบบอิสราเอล
➤ เนื้อหากิจกรรม เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก

โครงการแม่สอนลูก
➤ ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
➤ ทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน นำแนวทางของโปรแกรม Hippy Program ของอิสราเอล
➤ เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าโรงเรียน ส่งเสริมด้านภาษา พัฒนาการกล้ามเนื้อ สติปัญญา
➤ มีบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก้พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กตำ่กว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
➤ เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย เกิดจากการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุตำ่กว่า 3 ปี โดยใช้รูปแบบ 4 รูปแบบ 1.วิธกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม 2.วิธีการสนทนากลุ่ม 3.วิธีอภิปรายกลุ่ม 4.วิธีบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
➤ ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
   - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
   - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
   - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
   - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง "การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์"
   - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง "การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์"

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว "บ้านล้อมรัก"
➤ ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันแลัปราบปรามยาเสพติด โดยมีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
   - ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรศัศน์
   - ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์
   - สื่อสิ่งพิทพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด
   - กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา

โครงการหนังสือเล่มแรก (ฺBook Start Thailand)
➤ เริ่มปี พ.ศ. 2546 ริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ โดยการจัดทำบุ๊คสตาร์ท ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
➤ ดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลสยหน่วยงาน เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้ผู้ปกครอง โดยมีกิจกรรมดังนี้
   - การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดผู้ปกครอง
   - จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก 
   - จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับ นักเรียนป.5 ให้มีความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดีต่อไป

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
➤ ดำเนินงานโดยกองสูตินารีีเวชกรรม ร.พ.พระมงกุฏเกล้า เปิดให้บริการให้เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่ โดยใช้ชื่อว่า "คลินิกให้คำปรึกษาก่อนสมรส"

🔮โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในต่างประเทศ🔮

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
➤ ประเทศอิสราเอล ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ถือเป็นส่วนหนึ่วของระบบการจัดการศึกษา

โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย
➤ ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง ดังนี้
   - สอนพ่อแม่อายุยังน้อยให้รู้จักใช้สื่อ เกมการเล่นน เพื่อพัฒนาเด็ก
   - จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
   - ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมศูนย์

โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
➤ การจัดการศึกษานอกระบบแก่พ่อแม่ "HATAF" เป็นโครงการสอนพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 1-3 ปี ให้พ่อแม่ได้พัฒนาทักษะการพูด-คุยกับลูก ได้เรียนรู้พัฒนาการ และเรื่องบรรยากาศสิ่งแวดล้องให้ลูก

โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
➤ จัดทำขึ้นสำหรับเด็ก 4-6 ปี ส่งเสริมให้พ่อแม่ใช้เวลาว่างร่วมกับลูกในการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ โดยก่อนเริ่มกิจกรรมจะมีการพูดคุยกับพ่อแม่ถึงกิจกรรมที่จะเล่นกับลูก

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
➤ มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 
   - เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย 
   - ได้แลกเปลี่ยนความคิกเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก
   - ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม
   - เพื่อให้เข้าใจจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา

โครงการศูนย์ข้อสอบ
➤ มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง มีวตถุประสงค์ดังนี้
   - ให้เข้าใจเรื่องความต้องการทางการศึกษาของเด็ก
   - ให้สนับสนุนการเรียนของเด็ก
   - สามารถติดต่อสื่อสารอย่างมรประสิทธิภาพระหว่างครู ผู้บริหาร นักเรียน
   - ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบรัับความช่วยเหลือสำหรับนักเรียนที่ได้มาจากโรงเรียน

โครงการ เฮดสตาร์ท 
➤ เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย

โครงการโฮมสตาร์ท
➤ นำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาเด็กเล็ก เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก

โครงการสมาร์ท สตาร์ท
➤ ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น สร้างขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายเด็กอายุ ตำ่กว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ

โครงการ Brooklyne Early ChildHood
➤ โครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องตน ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
➤ การศึกษาปฐมวัย ให้โฮกาสผู้ปกครองใช้สิทธิ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ครูอนุบาลที่มีความสามรถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคอดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก

โครงการเพลย์เซ็นเตอร์
➤ พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด ตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรอง "พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก"

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
➤ เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดนิทรรศการสำหรับผู้ปกครอง เพื่ออธิบายถึงปรัชญาที่เป็นรากฐานของการศึกษาปฐวมวัย

โครงการ "พ่อแม่คือครูคนแรก"
➤ ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให่มีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการ ถ้าพ่อแม่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีเรียกว่า "พ่อแม่นักการศึกษา"

โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
➤ เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกกจนถึง 5 ปี เจ้าหน้าที่จะทำการนัดหมายและมีการไปเยี่ยมบ้าน

โครงการบุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ
➤ เป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก มีวัตถุประสงค์เพื่อเด็กทารกในอังกฤษทุกครได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือเล่มและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการแจกถุงบุ๊คสตาร์ท
   ภายในถุงประกอบด้วย
    - หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
    - หนังสือที่แนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดู
    - ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจาน
    - แผนที่แนะนำห้องสมุดสำหรับเด็ก
    - บัตรสมาชิกห้องสมุเด็ก
    - รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
    - รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก

โครงการบุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น
➤ ปี พ.ศ. 2543 ประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่านของเด็ก ด้วยหลักการที่ว่าภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก

🎅 คำถามท้ายบท 🎅

1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ มีเป้าหมายในการให้ความรู้ผู้ปกครอง และให้ความสำคัญของพัฒนาการของเด็ก ให้ผู้ปกครองมีความพร้อมและความรู้ที่ถูกต้องในการดูและเด็ก

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ สนับสนุนโครงการโดยจัดให้ความรู้ภายในชุมชนของเรา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ถูกต้องและพัฒนาเด็กเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก้พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็กมา 5 เรื่อง พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เรื่องพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ว่าในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการอย่างไร ควรส่งเสริมอย่างไร
เรื่องโภชนาการในแต่ละช่วงวัย เด็กในแต่ละวัยมีความต้องการที่ต่างกัน พ่อแม่ควรรู้ถึงโภชนาการที่ถูกต้อง
เรื่องสุขอนามัย ในเรื่องสุขภาพอนามัยวิธีการดูแลรักษาความสะอาด และโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กและการป้องกันรับมือ
เรื่องสื่อ พูดถึงในเรื่องสื่อใกล้ตัวภายในบ้าน พ่อแม่สามารถประดิษฐ์สื่อเองได้โดยไม่ต้องเสียตังมากมาย
เรื่องพฤติกรรมของเด็ก อธิบายถึงสาเหตุของพฤติกรรมต่างๆ และวิธีแก้ไขที่ถูกวิธี

4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ส่งผล ถ้าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลี้ยงดูลูก เด็กก็จะมีพฤติกรรมที่ดี เพราะพ่อแม่มีเข้าใจ และพร้อมที่จะเข้าใจลูก และแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ถูกต้อง

5.นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การไปเยี่ยมบ้าน สอบถามพูดคุยกับผู้ปกครองว่าเป็นอย่างไรบ้าง นำไปปรับใช้อย่างไรบ้างดีขึ้นหรือไม่อย่างไร

การประเมิน
💙ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
💛ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
💜ประเมินอาจารย์ : อธิบายอย่างละเอียดเข้าใจ

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกครั้งที่ 5
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2562

"ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ลาป่วย"