วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกครั้งที่ 9
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ 


ปรึกษาโครงการ "สื่อสร้างสรรค์ เสริมสร้างจินตนาการ"
    วันนี้คุยเรื่องโครงการของแต่ละกลุ่ม ถึงความคืบหน้าต่างๆ อธิบายรายละเอียดของการทำโครงการ และและแจกอุปกรณ์ กระดาษสี กาว ฟิวเจอร์บอร์ด ในการทำบอร์ด

➤ กลุ่มของดิฉัน ความคืบหน้าหาสถานที่ได้แล้ว และเก็บแบบสอบถามความต้องของผู้ปกครองการเรียบร้อยแล้ว ครั้งต่อไปอาจารย์ให้ทำกำหนดการ และรายละเอียดในการให้ความรู้ต่างๆ


การประเมิน
💛ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์
💜ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา
💓ประเมินอาจารย์ : อธิยายและแนะนำได้อย่างเข้าใจ
บันทึกครั้งที่ 8
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ 
   วันนี้นำเสนองานวิจัยของแต่ละกลุ่ม

นำเสนองานวิจัย
🌈กลุ่มที่ 1
วิจัยเรื่องการส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
   ➤ เด็กสามารถใช้ภาษเป็นเครื่องมือในการสแวงหาความรู้ในยุคสารสนเทศผ่านภาษา
   ➤ ภาษาเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้รอบตัวของเด็กตั้งแต่เกิด 
   ➤ การส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนเอง ที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญ

วัตถุประสงค์การวิจัย
   ➤ เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านภาษาด้านความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”
   ➤ เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1. ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา 
   2. แบบวัดความเข้าใจทางภาษาเด็กปฐมวัย 
   3. แบบวิเคราะห์ความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
   1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา “ มีพัฒนาการความเข้าใจภาษา โดยรวมสูงขึ้น ร้อยละ 53.72 
ของความสามารถพื้นฐานเดิม 
   2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา” มีความเข้าใจภาษาโดยรวมและจำแนกรายด้าน คือการใช้คำอย่างมีจุดมุ่งหมายและการใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมาย สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ตัวอย่างชุดกิจกรรม



🌈กลุ่มที่ 2 
วิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
   ➤ การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่าน
   ➤ การพัฒนาทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย

วัตถุประสงค์การวิจัย
   ➤ เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
   ➤ เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1.โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
   2. แบบวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
   3. แบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
   1.ผู้ปกครองใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเช้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีนิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง
   2. เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรัการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ตัวอย่างชุดกิจกรรม



🌈กลุ่มที่ 3
วิจัยเรื่องการศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
   ➤ จากการสำรวจการเล่นของเด็กชนบทในชุมชนเกษตรกรรมพบว่า ไม่มีของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา หรือของเล่นเพื่อการศึกษาแต่อย่างใด
   ➤ พ่อแม่ยังมองไม่เห็นความสำคัญของการเล่น และของเล่นที่ส่งเสริมความพร้อมทางสติปัญญาเท่าที่ควร โดยคิดว่าของเล่นและการเล่นของเด็กมีประโยชน์เพียงให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
   ➤ พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการให้อบรมเลี้ยงดูที่ถูกวิธี ละเลยบทบาทหน้าที่ของตนในการให้การอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเบื้องต้นแก่ลูกหลานของตนให้มีพัฒนาการที่เหมาะสม

วัตถุประสงค์การวิจัย
   ➤ เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีสอน และการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1. ชุดการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางศาสตร์ เรื่อง รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่เรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอน
   2. แบบันทึกวิธีสอนและรายชื่อสื่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่คิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย เรื่อง  รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก หลังจากผู้ปกครองคิดวิธีสอนและสื่อที่ใช้ในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยแล้ว
   3.แบบบันทึกปริมาณการใช้สื่อในการสอนเด็กสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยใช้บันทึกรายชื่อสื่อ และจำนวนสื่อ ที่ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มใช้สอนเด็ก เรื่อง ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
   4.แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์   เรื่อง  ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย

ตัวอย่างชุดกิจกรรม
ใหญ่ - เล็ก


สรุปผลการวิจัย
   - ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

🌈กลุ่มที่ 4
วิจัยเรื่องการเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม 
“สนุกกับลูกรัก”

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
   ➤ เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กสังเกตได้จากการเล่นการพูดคุยของเด็กมักมีเรื่องราวคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
   ➤ เนื่องจากผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเอาใจใส่ลูกเป็นครั้งคราว
   ➤ ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ผลักดันให้การดำเนินชีวิตของเด็กในด้านต่างๆประสบความสำเร็จได้

วัตถุประสงค์การวิจัย
   ➤ เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
   ➤ เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
   ➤ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1. ชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก” จำนวน 8 ชุด 
   2. แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
   -  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ  พบว่า...เด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
   -  การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับควรปรับปรุง (=12.90) และหลังทดลองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรักมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี (=30.35)

ตัวอย่างชุดกิจกรรม



🌈กลุ่มที่ 5
วิจัยเรื่องการพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
   ➤ ปัญหาเด็กที่อยู่ในชนบทขาดการพัฒนาตามวัยอย่างต่อเนื่องครบทุกด้านโดยเฉพาะการพัฒนาทางสุขภาพ
   ➤ ผู้ปกครองในหมู่บ้านชนบทของไทย มีประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก
   ➤ ปัญหาการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กสามารถพิจารณาได้จากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองในชนบท
   ➤ ความเสื่อมถอยของบทบาทครอบครัวในการขาดการเตรียมตัวที่จะเป็นพ่อแม่
   ➤ ปัญหาการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในชนบท ต้องครอบคลุมสมาชิกในครอบครัวและตัวผู้ปกครองเองด้วย

วัตถุประสงค์การวิจัย
   ➤ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาลทั้งหมดในหมู่บ้านหนองกก หมู่ที่4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน จังหวันครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ.2540 มีจำนวนทั้งสิ้น39คน

สรุปผลการวิจัย
   - ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
   - ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การประเมิน
❤️ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา
💜ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน
💙ประเมินอาจารย์ : อธิบายเสนอแนะเพิ่มเติม แต่งกายสุภาพ